วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 10 รูปแบบของคำสั่ง HTML

ภาษา HTML นั้นไม่ได้มีรูปแบบเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ยากจะเข้าใจ เช่น ภาษา C, Pascal, Java เป็นต้น เพราะภาษา HTML มีรูปแบบคำสั่งง่ายๆ คล้ายกับภาษาที่ใช้กันอยู่ทั่วๆไป เป็นรูปแบบตายตัว และเข้าใจง่าย โดยภาษา HTML นั้น จะมีการใช้คำสั่งอยู่ภายใต้ เครื่องหมาย < > และจะใช้ เครื่องหมาย / เพื่อจบคำสั่งนั้นๆ โดยหลักในการเขียนเว็บเพจนั้นผมขอเสนอแนะขั้นตอน ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างเว็บเพจ ดังต่อไปนี้

1. สิ่งที่ต้องการนำเสนอ ผู้พัฒนาจะต้องเตรียมข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการนำมาเสนอลงบน Webpage โดยผู้พัฒนาอาจสร้างทีมงานขึ้นมาและแบ่งหน้าที่ในการทำงาน เช่น การหาข้อมูลข่าวสาร, การแบ่งหน้าที่ในการเขียน HTML รวมไปถึงการ Update ข้อมูลบนเว็บ เป็นต้น

2. สร้างโครงร่างคร่าวๆ ลงในกระดาษ ผู้พัฒนาควรวาดโครงร่างรูปแบบของ Webpage คร่าวๆลงในกระดาษก่อนเพื่อดูรูปแบบโดยรวมแบบกว้างๆ ของหน้าจอเรา ว่าควรจะมีโครงสร้างแบบไหน ใช้รูปภาพและข้อความอะไร วางไว้ตำแหน่งไหนบนหน้าจอบ้าง

3. เริ่มเขียน Webpage เริ่มต้นเขียน Webpage โดยภาษาที่ถนัด โดยทั่วไปเราจะใช้ภาษา HTML ในการเขียน ส่วนในการกำหนดลูกเล่น หรือใช้ระบบฐานข้อมูลบนเว็บเราอาจจะใช้ภาษา Scriptเข้ามาช่วย เช่น Java, CGI, Perl, PHP, ASP ฯลฯ เพราะ มาตรฐานของภาษา HTML นั้นไม่สามารถจัดการฐานข้อมูลได้

4. นำ Webpage ขึ้นไปวางบน Server ในส่วนนี้เจ้าของ Server จะเป็นผู้จัดการวางไฟล์ต่างๆ ที่ได้สร้างเรียบร้อยแล้วไว้บน Server เพื่อเปิดให้ผู้บริการให้ผู้สนใจเข้าชม

รูปแบบคำสั่งพื้นฐาน

โครงสร้างพื้นฐานของภาษา HTML จะมีรูปแบบ ดังนี้
<HTML>
<HEAD>
ชุดคำสั่งต่างๆ
</HEAD>
<BODY>
ชุดคำสั่งต่างๆ
</BODY>
</HTML>

1. จะเห็นว่าทุกคำสั่งจะมีคำสั่งเปิด <…> และคำสั่งปิด </…> เสมอ นี่เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนเว็บนั้นจะลืมไม่ได้คือ เมื่อเปิดคำสั่งแล้วต้องมีคำสั่งปิดเสมอ
2. การใช้อักษรภาษา HTML นั้นจะสามารถใช้ได้ทั้งตัวใหญ่หรือตัวเล็กก็ได้ เช่น <HTML> หรือ <html> เป็นต้น
3. การใส่รายละเอียดหรือข้อมูลต่อท้ายคำสั่งย่อยนั้นต้องมีเครื่องหมาย “....” เสมอ เช่น <body background= “green”> เป็นต้น
4. คำสั่งย่อยๆ นั้นจะอยู่ภายใน <…> ของคำสั่งหลักเสมอ เช่น <FONT size= “2”>
ต่อไปเป็นการอธิบายความหมายและการใช้คำสั่งต่างๆของภาษา HTML ในที่นี้ผมจะอธิบายแต่คำสั่งที่สำคัญๆ ที่ส่วนใหญ่ต้องใช้ประโยชน์จริงๆนะครับ และในส่วนที่เป็นสีแดงในรายละเอียดด้านล่างนั้นเป็นตัวอย่างที่ผู้เขียนสามารถเปลี่ยนได้ครับ และคำสั่งของภาษา HTML นั้น ในที่นี้ผมจะเรียกว่า “แท็ก” นะครับ

 
1.
 <H..>   message   </H..> การกำหนดหัวเรื่อง
   message   <BR> ขึ้นบรรทัดใหม่
3.
 <P>   message   </P> ขึ้นย่อหน้าใหม่
4.  
<blockquote> message </blockquote> บล็อคข้อความ
5.
 <CENTER>   message   </CENTER> จัดให้อยู่กึ่งกลาง

ใบงาน 9 ความหมายของ HTML


ความหมายของ HTML
HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษามาตรฐานสากลที่ใช้นำเสนอข้อมูลแบบผสมผสานในการสื่อสารแบบ World-Wide-Web :WWW ( Web) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก (Internet) รูปแบบหนึ่ง ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือ อื่นๆ จะถูกเชื่อมโยงเข้าหากัน ด้วยชุดคำสั่งต่างๆ เพื่อให้แสดงผลออกมาคล้ายกับ สิ่งพิมพ์ สไลด์ หรือ แบบมัลติมีเดีย ซึี่่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วยHTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย Tag

Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือTag เดี่ยวเป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส เช่น <HR>, <BR> เป็นต้น
Tag เปิด/ปิด
เป็น Tag ที่ประกอบด้วย Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมีเครื่องหมาย slash
( / ) นำหน้าคำสั่งใน Tag นั้นๆ เช่น <B>…</B>, <BLINK>…</BLINK> เป็นต้น

องค์ประกอบของภาษา HTML

เอกสาร html จะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ

· ข้อความที่ต้องการให้แสดงบนจอภาพ

· ข้อความที่เป็นคำสั่ง

โดยคำสั่งในเอกสาร html นี้จะเรียกว่า แท็ก (Tag) โดยแท็กจะต้องขึ้นต้นด้วย < ตามด้วย ชื่อแท็ก ปิดท้ายด้วย > ดังนี้<Tag name>ซึ่งจะเรียกว่า แท็กเปิดแล้วจะต้องปิดท้ายข้อความด้วยแท็กปิด ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้ </Tag name>เรามาดูรูปแบบเต็ม ๆ กัน

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 7 การเขียนแผนผัง(Flowchart)

ใบงานที่ 7 การเขียนแผนผัง(Flowchart)

ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

การเขียนผังงานสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

1.ผังงานระบบ (System Flowchart)
ใช้แสดงขั้นตอนการทำงานภายในระบบงานหนึ่งๆ โดยกล่าวถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น เอกสารเบื้องต้นคืออะไร วัสดุที่ใช้คืออะไร ใช้หน่วยความจำประเภทใด จะต้องส่งผ่านไปยังหน่วยงานใด วิธีการประมวลผลและการแสดงผลลัพธ์

2.ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
ผังงานประเภทนี้จะแสดงถึงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม การรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงข้อมูล บางครั้งจะเรียกว่าผังการเขียนโปรแกรม สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน

ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )

การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้


ใบงานที่ 6 การเขียนรหัสจำลอง(Pseudo Code)

ใบงานที่ 6 การเขียนรหัสจำลอง(Pseudo Code)

การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) คือการเขียนอัลกอริทึมโดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความ
หมายง่าย ๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที แต่ก็สามารถใช้รูปแบบที่เป็นภาษาพูดด้วยภาษาไทยและภาษา
อังกฤษก็ได้

โครงสร้างของรหัสจำลองเริ่มต้นด้วยข้อความ Begin แล้วอธิบายขั้นตอนการทำงานโดยใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโปรแกรม เช่น

คำสั่ง read หมายถึง การอ่านค่าหรือรับค่าข้อมูลตัวแปรตามที่กำหนดไว้

คำสั่ง print หมายถึง การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
และพิมพ์ข้อความ End เมื่อจบการทำงาน

การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ภายในโปรแกรมด้วย
การสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (= ) แทนการกำหนดค่าตัวแปร


ใบงานที่ 5 อัลกอริทึม(Algorithm)

ใบงานที่ 5 อัลกอริทึม(Algorithm)

1.อัลกอริทึม(Algorithm)
หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร กระบวนการนี้ประกอบด้วยจะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซำอีก จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน Algorithm ไม่ใช่คำตอบแต่เป็นชุดคำสั่งที่ทำให้ได้คำตอบ วิธีการในการอธิบาย Algorithm

2.ลักษณะของ อัลกอริทึม 
แนวทางการเขียนอัลกอริทึมเป็นลักษณะการทำงานขั้นพื้นฐาน มักปรากฏในระบบงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป มีแนวทางที่ใช้บ่อย ๆ ดังนี้

· การทำงานลักษณะการนับค่าสะสมในหน่วยความจำ
· การทำงานลักษณะวนรอบการทำงาน
· การทำงานลักษณะหาค่ามากที่สุด และค่าน้อยที่สุด

วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 4 เรื่อง การดำเนินการแก้ปัญหา การตรวจสอบและปรับปรุง

ใบงานที่ 4 เรื่อง การดำเนินการแก้ปัญหา การตรวจสอบและปรับปรุง

การตรวจสอบและการปรับปรุง เป็นขั้นตอนการตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา เช่น ข้อมูลรับเข้า ข้อมูลส่งออก หรือไม่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในทุกกรณีถูกต้องและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


1. ตรวจสอบและปรับปรุงโดยผู้ออกแบบ เป็นการกระทำทั้งในระหว่างการดำเนินการและภายหลังการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วซึ่งเป็นการตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการทำงานก่อนการใช้งานจริง

2. การตรวจสอบโดยผู้ใช้งานจริง เป็นการตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการทำงานภายหลังการดำเนินการ โดยจัดเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นโดยตรงซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ และการทำแบบสอบถาม จากนั้นผู้ออกแบบรวบรวมข้อมูลไปปรับปรุงกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศอีกครั้ง



ใบงานที่ 3 เรื่อง การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอน

ใบงานที่ 3 เรื่อง การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอน

1.การเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา
: การกำหนดทรัพยากรที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหา 

2.การออกแบบขั้นตอนในการปฏิบัติงานจริง : เป็นการกำหนดแนวทางแก้ปัญหาก่อนปฏิบัติจริง โดยจะต้องกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานเป็นลำดับขั้น โดยจะต้องกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงเป็นลำดับขั้นและระยะเวลาปฏิบัติงานในตารางปฏิบัติงาน


ใบงานที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา

ใบงานที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
มีวิธีกาดังนี้
   1.วิเคราะห์สิ่งที่ต้องการ โดยวิเคราะห์ว่าต้องการแก้ปัญหาอะไร? ผลผลิตอะไร? หรืองานอะไร? แล้วกำหนดวัตถุประสงค์สิ่งที่ต้องการนั้น เช่น ต้องการแก้ปัญหาการขาดทุนของร้านเช่าหนังสือ
   2.วิเคราะห์ผลลัพธ์ ที่ต้องการโดยวิเคราะห์สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการแก้ปัญหาที่ต้องการมากกว่า 1 ข้อ เช่น มีความสะดวกรวดเร็วในการเช่าหนังสือ ป้องกันไม่ให้หนังสือหาย มีกำไรมากยิ่งขึ้น
   3.วิเคราะห์ทรัพยากร โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่นำมาใช้แก้ไขปัญหาซึ่งควรเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก เช่น วัสดุอุปกรณ์ ความรผุ้ของบุคลากร แรงงาน งบประมาณ
   4.วิเคราะห์ตัวแปรหรือผลกระทบในด้านต่างๆ เช่น ทำไมหนังสือสูญหาย พนักงานไม่มาทำงานบ่อย
   5.วิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหา เช่นเก็บค่าสมาชิกสูงขึ้น โดยผ่ารกระบวนการความคิดเช่น ทำได้จริงหรือไม่ จะได้ผลลัพธ์ที่ดีหรือไม่

Course Outline OT32201


Course Outline
ปีการศึกษาที่ 1 


วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 1 เรื่องกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ


1.ความหมาย กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว

2.ขั้นตอน กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ    1.การรวบรวมข้อมูล
วิธีการดำเนินการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อการประมวลผล เช่น บันทึกในแฟ้ม เอกสาร บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ จดบันทึกไว้ในสมุด เป็นต้น

         2.การตรวจสอบข้อมูล
ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การตรวจสอบ เพื่อหาข้อผิดพลาด ความน่าเชื่อถือ ความสมเหตุสมผล เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมและบันทึกไว้อย่างถูกต้อง

         3.การประมวลผลข้อมูล
หมายถึง วิธีการดำเนินการกระทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ข้อมูล การประมวลผลสารสนเทศข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง ที่เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นความจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมาน

         4.การจัดเก็บข้อมูล
การเก็บรักษาข้อมูลเพื่อการบริหาร โดยเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ

         5.การคิดวิเคราะห์
ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อสรุปความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศให้ตรงสภาพที่เป็นจริงตรงตามวัตถุประสงค์ก่อนที่จะนำข้อมูลมาใช้

         6.การนำข้อมูลไปใช้
การนำข้อมูลไปใช้ในลักษณะต่างๆ

3.การแก้ปัญหา กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนด้วยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนมากจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยเพื่อเพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถทำซ้ำได้ง่ายในกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยแก้ปัญหา จำเป็นต้องปรับรูปแบบวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
วิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิธีคล้ายกับการแก้ปัญกาทางวิศวกรรมมาก แต่ในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานใดๆ ก็ตาม จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่ใช้เครื่องมือวิเศษที่จะแก้ปัญหได้ทุกเรื่อง
นอกจากนี้ยังจะต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่เสียเปล่า ต้องเลือกวิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับงาน จัดหาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ไม่เกินความจำเป็น
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เหมาะกับระบบงานที่ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งซากและมีปริมาณงานมากหรืองานที่ต้องการความรวดเร็วในการคำนวณเกินกว่าคนธรรมดาจะทำได้ วิธีการโดยทั้วไปคือ ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือระบบการทำงานแบบเดิม มาใช้ระบบงานที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำงานเป็นบางส่วน หรือทั้งหมด เท่าที่สามารถจะทำแทนคนได้






Profile

ชื่อนาย ภานุวัฒน์ แป้นกลาง ม.5/2 เลขที่ 6
ชื่อเลน นุ อายุ16 ชอบ ของหวาน ไม่ชอบ หนอน
Panuwat Panklang M.5/2 No. 6
โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง